Leaning
Log in class
Week
7
การสอนแบบบูรณาการ (Integrated
Teaching)
ในยุคโลกาภิวัตน์
การใช้ภาษาถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน
หรือภาษาอื่นๆอีกมากมาย เพราะในโลกนี้มีภาษาเกิดขึ้นมากมายมากกว่า 7,000 ภาษา แต่หนึ่งในนั้นคือภาษาอังกฤษที่สำคัญที่สุด
เพราะถือเป็นภาษากลางในการสื่อสารของโลก ในประเทศไทยปัจจุบันมีการจัดลำดับแล้วว่ามีการใช้ภาษาอังกฤษต่ำสุดในอาเซียน
เนื่องจากระบบการศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐาน
ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาสำคัญของโลกเป็นภาษากลางของมนุษยชาติ ไม่ว่าแต่ละคนจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจำชาติ
เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกันทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษ
ด้วยเหตุนี้
ทุกชาติทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองจากภาษาประจำชาติ
เป็นแกนกลางของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต
ดังนั้น ภาระหนักจึงอยู่ที่การจัดการระบบการศึกษา
ครูจะต้องเป็นผู้สอนแบบบูรณาการในแขนงวิชาต่างๆ เช่น ในการสอน
ทฤษฏีจะต้องอยู่เบื้องหลังการสอน การสอนแบบบอกกฎและให้ตัวอย่าง (deductive
leaning) หรือการส่งเสริมความคิดของตนเอง (inductive leaning)
การศึกษาในประเทศไทยจะมีปัญหาอย่างหนึ่งคือ ลักษณะการสอนของครูผู้สอน
ที่มุ่งสอนแต่เนื้อหาสาระวิชาและใช้วิธีการสอนที่ไม่เหมาะสม
การสอนแบบบูรณาการสามารถทำได้หลายวิธีเช่น วิธีการสอนแบบความคิดรวบยอด (Deductive
leaning) โดยให้คำจำกัดความ แล้วจึงยกตัวอย่างประกอบ
โดยที่ผู้สอนเป็นผู้ให้คำจำกัดความของความคิดรวบยอดนั้น
ส่วนตัวอย่างนั้นผู้สอนหรือผู้เรียนเป็นผู้คิดและเสนอตัวอย่าง สามารถสรุปได้ว่า Deductive
= Generalizations or rule……Specific Example or Activities อย่างเช่นในการสอนเรื่องแกรมม่าไวยากรณ์ ผู้สอนจะต้องสอนเป็นขั้นบันได
(scuffle) จะต้องรู้ระดับของผู้เรียน (level of
student) ว่านักเรียนหรือผู้เรียนส่วนใหญ่มีระดับการเรียนอยู่ในระดับใด
เพื่อให้ผู้สอนได้จัดเนื้อหา
แนววิธีการสอนได้อย่างตรงกับระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน
ส่วนครูผู้สอนจะต้องมีทักษะที่แม่นยำ
มีเป้าหมายและความมุ่งมั่นที่จริงจังต่อการเรียนการสอน
เพื่อให้เป็นไปตามคำอธิบายรายวิชา (Couse syllabus)
การจัดรูปแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนของครูผู้สอน ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
ปัจจุบันมีการออกแบบรูปแบบการสอนใหม่ๆที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแต่รูปแบบการสอนนั้นจะต้องทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
แม่นยำทั้งความรู้ในด้านเนื้อหาสาระและการนำไปปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวัน เช่น
Inductive leaning คือวิธีการสอนโดยผู้สอนเสนอตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง
ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ แล้วหาคำหรือคำจำกัดความซึ่งเป็นความคิดรวบยอดได้
ซึ่งการยกตัวอย่างจะสะท้อนความเข้าใจในห้องเรียน
ถ้าผู้เรียนเงียบก็แสดงถึงการเรียนในครั้งนั้นมีปัญหา
ผู้เรียนสามารถมีความคิดเป็นของตัวเองที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น
ทำให้ตนเองและผู้อื่นสามารถประยุกต์ข้อมูลหรือสารที่เป็นส่วนกลางที่ใช้เป็นองค์ประกอบของคำตอบนั้นได้
การสอนแบบ inductive จะส่งเสริมความคิดให้ผู้เรียนรู้จักคิด
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
Integrated teaching กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การรวมเนื้อหาสาระต่างๆในหลักสูตรที่มีลักษณะเหมือนกันและทักษะกระบวนการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงสัมพันธ์เป็นสิ่งเดียวกันและสอดคล้องกับบริบท
การเรียนรู้อย่างสมดุลมีความหมายแก่ผู้เรียนและให้โอกาสผู้เรียนในการปฎิบัติกิจกรรมด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งด้านสติปัญญา (Cognitive)
ทักษะ (Skill) และจิตใจ (Affective) สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง
ก็เหมือนกับการสอนภาษาที่จะต้องมีวิธีการสอนที่ถูกต้อง จึงจะสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารหรือใช้เพื่อการศึกษาให้เท่าทันโลกและประเทศในอาเซียน
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวของผู้เรียนที่จะต้องพัฒนาและฝึกทักษะของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น