วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Leaning Log in class

Week 4

การมีวินัยในตนเอง
วินัยในตนเอง หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์และพฤตกรรมของตนเองให้เป็นไปตามที่ตนมุ่งหวัง โดยเกดจากการสำนึกขึ้นมาเอง ทั้งนี้จะต้องไม่กระทำการใดๆ อันจะเกิดความยุ่งยากแก่ตนเองในอนาคต แต่จะต้องกอให้เกิดความเจริญต่อตนเองและผู้อื่นโดยไม่ขัดต่อระเบียบของสังคมและศีลธรรม มีความตั้งใจ และมั่นใจในพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อตนเองและสังคม ถ้าไม่มีวินัยในตนเองชีวิตก็จะสับสนยุ่งเหยิง สังคมจะวุ่นวาย ทําลายโอกาสในการที่จะดําเนินชีวิตที่ดีงามและโอกาสในการพัฒนาตนเองของทุกคน วินัยในตนเอง เป็นองค์ประกอบหนึ่งของลักษณะชีวิตที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการประสบความสําเร็จอย่างยั่งยืนในชีวิต เราจะไม่สามารถนําชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีงามได้จนกว่าจะตั้งอยู่บนวินัยวินัยสร้างความรับผิดชอบ วินัยสร้างระเบียบแบบแผน วินัยสร้างคนให้เป็นคนดี วินัยสร้างคนให้เป็นคนเก่ง ดังนั้น วินัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ เราจําเป็นต้องสร้างวินัยให้แก่มนุษย์ตั้งแต่เด็กสำหรับการจัดการศึกษา ความมีวินัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ครูผู้สอนต้องให้ความสําคัญ ในการส่งเสริมให้เกิดขึ้นในวัยเด็ก    ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณ ค่าของความมีวินัยในตนเอง  เพื่อความสุขและความสําเร็จของตนเองและสังคม ดังนั้นการทำจะให้เกิดความมีวินัยขึ้นในหมู่คณะ ทั้งนี้การมีวินัยในตนเองจะต้องประกอบไปด้วยการมีคุณธรรม จริยธรรม และการให้เกียรติตนเองและผู้อื่น ที่จะส่งเสริมให้เกิดการมีวินัยได้อย่างสมบูรณ์


คุณธรรม จริยธรรม มีความสำคัญอยู่ที่การให้คุณค่าของบุคคลจนเป็นความประทับใจอย่างลึกซึ้ง เรียกว่า เป็นค่านิยมเฉพาะบุคคลต่อสิ่งนั้นๆ จริยธรรมที่เกิดจากค่านิยม อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ค่านิยมพื้นฐานเป็นค่านิยมที่ทำให้บุคคลมีคุณธรรมประจำใจ อย่างที่สองคือ ค่านิยมวิชาชีพ มีจรรยาบรรณวิชาชีพในระดับการดำรงชีวิต  คุณธรรมและจริยธรรมจะเป็นตัวที่ทำให้บุคคลได้กำหนดพฤติกรรมของตนเอง เพื่อทำให้เกิดความสุข ต่อมาคือระดับสังคม ความสุขของบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเพื่อนและสังคม คือการได้รับการยอมรับ บุคคลต้องอาศัยคุณธรรม จริยธรรมเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรี และในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น จริยธรรมเป็นอุดมการณ์อันสูงสุดสำหรับวิชาชีพ ส่วนคุณธรรม จริยธรรมในระดับโลก เป็นหลักธรรมที่คุ้มครองโลกให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยเฉพาะยุคนี้หรือยุคโลกาภิวัตน์ ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ก่อให้เกิดการแข่งขัน การพัฒนาบุคคลด้วยคุณธรรมต้องฝึกฝนให้มีความรู้สึก ตระหนักว่าอะไรดี อะไรควร และปฎิบัติแต่ในทางที่ถูกที่ควร คุณธรรมจริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำรงชีวิต
คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"  ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษาหรือบุคคลอื่นๆ จะขาดจริยธรรมที่พึงประพฤติปฏิบัติ แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยเน้นการพัฒนาจิตใจในลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ การเผยแพร่ธรรมะทางสื่อต่างๆ หลักธรรมาภิบาลและหลักคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงาน ธรรมาภิบาล (Good Governance)    ธรรมาภิบาลจะมีคำว่า integrity ค่านิยมของข้าราชการ T am ready  โดย I = Integrity มีศักดิ์ศรี A = Activeness ขยันตั้งใจทำงาน M = Morality มีศีลธรรม R = Relevance รู้ทันโลก E = Efficiency มุ่งเน้นประสิทธิภาพ A = Accountability รับผิดชอบต่อผลงาน D = Democracy มีใจ/การกระทำเป็นประชาธิปไตย Y= Yield มุ่งเน้นผลงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ค่านิยมจึงมักมีคำว่า integrity เป็นค่านิยมขององค์กร สาเหตุที่ต้องมีหลักธรรมาภิบาล เพราะมีอำนาจมากก็จะโกงมาก
ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม การเมืองการปกครอง มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ คุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคมจึงมีบทบาทสำคัญกับระบอบการเมืองการปกครอง ที่สังคมนั้นใช้ในสังคมประชาธิปไตย ลักษณะการเมืองการปกครอง เน้นหนักในทางที่สะท้อนความหวัง ความปรารถนาของมวลมนุษย์ มีการปกครองที่รัฐบาลมีอำนาจจำกัด เช่นความเสมอภาค เป็นการปกครองของประชาชนและเพื่อประโยชน์ความสงบสุขและความมั่นคงของการดำรงอยู่ กับคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคม ประโยชน์ของคุณธรรมจริยธรรม คือ การพัฒนาให้มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่แข็งแรง ตำราทางจิตวิทยากล่าวว่า บุคคลที่มีวินัยในตนเองนั้น มักจะประสบความสำเร็จในชีวิต นั่นคือ แม้วันนี้จะไม่มีอารมณ์อยากทำ แต่ก็ต้องยอมรับฝืนตนเอง ฝึกฝนตนเองให้ทำงานได้ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่ไม่พึงใจ ไม่ใช่ตามใจตนเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น