Learning
Log out class
Week
11
เทคนิคการจำคำศัพท์ให้ขึ้นใจ
จากการที่ข้าพเจ้าได้ฝึกทักษะด้านต่างๆไปแล้วคือ
ทักษะการพูด ทักษะการฟัง ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน
ทักษะที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้นในภาษาอังกฤษนั้นข้าพเจ้าได้ทำการฝึกฝนมาบ้างแล้วทั้งในเรื่องการฟัง
พูด อ่าน เขียน ผลของการฝึกปรากฏว่าถ้าหากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ข้าพเจ้าจะให้ตัวเอง 60%
เนื่องจากนักศึกษาครู
แน่นอนมีงานเยอะมากแม้ว่าจะแบ่งเวลาในการฝึกฝนตนเองแล้ว แต่ด้วยภาระหน้าที่ในรายวิชาอื่นๆ
ก็ยังคงเป็นอุปสรรคแก่การฝึกฝนทักษะในด้านต่างๆอยู่ แต่ในขณะที่ข้าพเจ้าได้ทำการฝึกนั้นข้าพเจ้าก็คิดขึ้นได้ว่า
การที่เราจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้น เราจะต้องเริ่มจากหน่วยเล็กๆก่อน นั้นคือ
ตัวคำศัพท์ เพราะการที่จะมีประโยคขึ้นมาได้จะต้องประกอบไปด้วยคำต่างๆที่ทำหน้าที่ต่างๆ
ทั้งนี้คำศัพท์ถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ทักษะการฟัง การเขียนมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด
หากข้าพเจ้าสามารถรู้คำศัพท์และความหมายของคำศัพท์ที่หลากหลาย
ในการที่เรารู้คำศัพท์ได้เยอะจะทำให้เราสามารถใช้คำศัพท์ได้หลากหลายรูปแบบไม่จำเจ
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงสร้างเทคนิคการจำคำศัพท์ให้ขึ้นใจให้กับตนเอง มีอยู่หลักๆ 5
ประการ
อุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการใช้ภาษาอังกฤษ
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่
ก็คือการจำคำศัพท์ที่เหมาะสมหรือแปลความหมายของคำศัพท์ที่พบไม่ได้
เพราะถึงจะรู้หลักแกรมม่า แต่ไม่ได้คำศัพท์เพราะแปลไม่ออกก็ไปไม่ได้เหมือนกัน
ข้าพเจ้าจึงหาวิธีที่ทำให้ตนเองจำคำศัพท์ให้ได้มากโดยวิธีที่หนึ่งคือ
การขยันอ่านหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นบทความ เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์
นิตยสาร การ์ตูน ใบปลิว ป้ายโฆษณา
เมื่ออ่านไปก็จะเกิดคำถามว่าจะอ่านไปให้มันได้อะไรถ้าไม่รู้ความหมาย คำตอบคือ
ได้ความคุ้นเคย ยิ่งอ่านมากก็ยิ่งเจอคำศัพท์มาก
เจอคำศัพท์ที่เราเคยเจอมาแล้วบ่อยขึ้นเรื่อยๆจนเกิดความคุ้นเคยกับคำศัพท์นั้น
จนเมื่อวันหนึ่ง
เรารู้ความหมายของคำศัพท์นั้นไม่ว่าจะด้วยการเดาความหมายจากบริบทในประโยคหรือจากการเปิดพจนานุกรรมเราก็จะจดจำความหมายนั้นได้อย่างแม่นยำจึงทำให้เราไม่ลืมความหมายของมัน
เทคนิคที่สองคือ เล่นเกมประเภทฝึกคำศัพท์ เช่น Crossword เกมพวกนี้จะช่วยกระตุ้นให้เราจดจำและพัฒนาการใช้คำศัพท์ได้เป็นอย่างดี
แถมยังให้ความสนุกสนาน ปัจจุบันเกมเหล่านี้มีให้เล่นฟรีตามเว็บต่างๆ
เทคนิคต่อมาคือ การหัดใช้พจนานุกรมให้ติดเป็นนิสัย
อุปกรณ์สำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษคือคำศัพท์คือพจนานุกรมมีทั้งแบบอังกฤษ-ไทย อังกฤษ-อังกฤษมีพจนานุกรมหลายสำนักวางขายตามท้องตลาด
การเลือกซื้อควรเลือกซื้อเล่มที่มีคำศัพท์จำนวนมากแต่ต้องเป็นคำศัพท์ที่ใช้ได้จริง
มีคำอธิบายความหมายได้ชัดเจน มีคำเหมือนคำตรงข้าม
มีผู้รู้หลายคนแนะนำข้าพเจ้าว่าควรใช้พจนานุกรมแบบอังกฤษ-อังกฤษเพราะเราต้องแปลความหมายของความหมายอีกต่อหนึ่ง
ซึ่งแม้จะต้องใช้พยายามมากกว่าเดิม แต่ก็ช่วยให้จำความหมายของคำศัพท์นั้นได้ดีขึ้น
ส่วนเทคนิคต่อมาคือ การจดบันทึกคำศัพท์ใหม่ไว้ทบทวน
เมื่อพบคำศัพท์ใหม่ควรจดคำศัพท์และความหมายใส่ในกระดาษกันลืมภายหลัง
หากได้หลายๆแผ่นก็สามารถเย็บรวมเล่มกลายเป็นสมุดจดคำศัพท์ที่เกิดจากฝีมือตนเอง
และเทคนิควิธีสุดท้ายคือ การใช้เพื่อนเป็นตัวช่วย
ลองหาเพื่อนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน แล้วเอาสิ่งที่ตนเองรู้มาผลัดกันถามตอบความหมายของคำศัพท์
จากเทคนิคการจดจำศัพท์ให้ขึ้นใจทั้ง
5
ประการ ข้าพเจ้าได้หาเวลาฝึกฝนตนเองโดยการเล่นเกม Crossword ก็ทำให้รู้สึกว่าตนเองรู้คำศัพท์ไม่เพียงพอ ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ข้าพเจ้าชอบเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
เพราะคุณครูจะให้เขียนคำศัพท์ตามคำบอก
ข้าพเจ้าได้คะแนนเยอะจึงเป็นแรงผลักดันแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าเรียนต่อในสาขาวิชานี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น