Learning Log in class
Week 2
การสร้างชิ้นงานหรือภาระงานจะมีหลากหลายรูปแบบ
ซึ่งตัวที่สามารถบอกถึงคุณภาพหรือศักยภาพของชิ้นงานหรือภาระงานคือ การประเมินผล (Assessment) ทั้งนี้การประเมินผลก็จะมีในหลายลักษณะ
ผู้สร้างสรรค์ชิ้นงานจะเป็นตัวกำหนดเอง (self-directed learner) ว่าชิ้นงานลักษณะไหน เหมาะกับกระบวนการสร้างสรรค์อย่างไร
จึงจะสามารถทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลักษณะของชิ้นงานจะมีหลายประเภทเช่น งานเขียน
เรียงความ การประดิษฐ์ การบรรยาย ส่วนลักษณะของภาระงานคือ
งานที่มีลักษณะผสมผสานชิ้นงาน เช่น การนำเสนองาน
งานเหล่านี้จะมีเกณฑ์ในการวัดหรือเกณฑ์การประเมินที่ไม่เหมือนกัน
ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้สอนและอื่นๆร่วมด้วย เช่น ชิ้นงานการศึกษาในห้องเรียน
(Learning Log in class) และการศึกษานอกห้องเรียน (Learning
Log out class) จะมีเกณฑ์การวัดดังนี้ Excellent = 4 คะแนน
Very good = 3 คะแนน
Good = 2 คะแนน Ok = 1 คะแนน ซึ่งในการเขียน Learning Log จะมีข้อจำกัดหรือขอบเขตคือ
การเขียนด้วยภาษาของตนเองและสะท้อนความรู้ที่ตนเองเข้าใจออกมา การเขียน Learning
Log ก็จะมีหลักเกณฑ์หรือวิธีการเขียนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ Introduction คือ บทนำ Body คือส่วนของเนื้อหาและ Conclusion คือบทสรุป
ก่อนที่จะเริ่มชิ้นงานการเขียน
Learning Log จะต้องมีการสำรวจตนเองเพื่อพัฒนาตนเอง (self-development)
ในด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่กระบวนการวิธีการแก้ไข (How to
solve the problem) เพื่อให้เกิดอภิปัญญา (Meta-cognition) จะนำไปสู่ self- directed learning การสำรวจตนเองหรือการประเมินตนเอง
จะมาจากความรู้ระดับการเรียนรู้แบบขั้นบันได (scaffolding) จะทำให้เรามีศักยภาพในการพัฒนาตนเองมากขึ้น
(full Potential) Learning Log เป็นการเขียนที่ต้องอาศัยทักษะการเขียนของตนเองเป็นอย่างมาก คือ
การเขียนแบบ Academic ซึ่งส่วนประกอบแรกคือ บทนำ Introduction
ที่จะกล่าวถึงบทนำหรืออรัมพบทเรียกว่า outline ในการเขียนบทนำจะต้องเขียนในสิ่งที่สอดคล้องในหัวข้อถัดไป คือ
มีขอบเขตและไม่กว้างจนเกินไป ส่วนประกอบที่สองคือ ส่วนของเนื้อหา Body ซึ่งจะต้องเขียนให้สอดคล้องกับบทนำ ถ้าหากในเรื่องที่จะเขียนมีเนื้อหามาก
ก็อาจแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน
ซึ่งเนื้อหาในส่วนประกอบที่สองนี้จะเป็นการขยายความของบทนำ
ว่าในบทนำมีการกล่าวถึงเนื้อหาไปกี่หัวข้อ และในส่วนของเนื้อหาก็จะมีหัวข้อตามบทนำ
ส่วนประกอบสุดท้ายคือ บทสรุป (Conclusion) การสรุปจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับบทนำ
แต่ความหมายจะต่างกัน ในส่วนของเนื้อหาจะมีการเสนอแนวคิด ข้อคิด
หรือแนวทางของการเขียนในเรื่องนั้น conclusion, summary คือการสรุป
ดังนั้นเป็นการสรุปจากเรื่องที่เขียนมาทั้งหมด ว่ามีเนื้อหาเป็นอย่างไร
ผู้เขียนมีจุดประสงค์แก่ผู้อ่านนั้นคืออะไร การเขียน Learning Log ด้วยกระบวนการ Academic ก็จะมีส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ดังที่กล่าวมาข้างต้น
ดังนั้น
การเขียน Learning Log โดยกระบวนการ
Academic ผู้เขียนจะต้องมีสมาธิในการฟังอย่างใจจดใจจ่อ (Listening
assertively) เนื่องจากผู้เขียนจะต้องนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ออกมาเป็นภาษาของตนเอง
เป็นการประยุกต์ทักษะของสมรรถภาพทางสมองที่ต้องใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ จึงจะสามารถทำให้ชิ้นงานหรือภาระงานออกมามีประสิทธิภาพ
ซึ่งในการสร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นก็จะมีเกณฑ์ในการประเมินในหลากหลายรูปแบบ
ผู้เขียนจะต้องกำหนดศักยภาพตนเองว่าจะต้องทำอย่างไรหรือใช้กลยุทธ์วิธีการใดที่จะสามารถทำให้ชิ้นงานนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ในการที่จะประสบผลสำเร็จ เราจะต้องใช้ความพยายาม มุมานะ ที่สำคัญคือการฝึกฝน (Practice)
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยเสริมสมรรถนะ ความสามารถ (competency)
เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานและภาระงานได้อย่างสมบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น