วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log out class
Week 4

ทักษะภาษาอังกฤษ : ความจำเป็นพื้นฐานวิชาชีพครู

                สภาพโลกาภิวัตน์ได้เชื่อมทุกประเทศให้กลายเป็นสมาคมโลก โดยเชื่อมโยงทั้งด้านการถ่ายเทข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ วัฒนธรรมและเศรษฐกิจการค้าที่เปิดเสรีมากขึ้น รวมทั้งการคมนาคมขนส่งจากทั่วทุกมุมโลก ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวในการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นสื่อกลางในกิจกรรมแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้าและการลงทุน การศึกษา การติดต่อสื่อสาร การท่องเที่ยว และการใช้ในชีวิตประจำวัน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีภาษาต่างประเทศอื่นๆเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่น ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษยังคงเป็นที่ยอมรับและนำมาใช้เป็นภาษากลางของโลก กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้มีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่ใช้ติดต่อสื่อสารและใช้ประโยชน์ได้ แต่เด็กไทยมีความอ่อนด้านภาษาค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษในระดับที่ต้องปรับปรุง


                ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ไม่เอื้ออำนวยและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาษาอังกฤษของเด็กไทยคือ ความจำกัดด้านคุณภาพและปริมาณครูที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ที่ผ่านมาพบว่าครูสอนภาษาอังกฤษจำนวนมากยังขาดความแม่นยำในการออกเสียงและไวยากรณ์ มุ่งสอนแบบท่องจำมากกว่าการสอนให้รู้จักธรรมชาติของภาษา ซึ่งหากครูยังไม่มีความรู้เพียงพอย่อมยากที่จะสอนให้ผู้เรียนเก่งภาษาอังกฤษได้ ในต่างประเทศเช่นประเทศแถบเพื่อนบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม มาเลเซีย ต่างเร่งพัฒนาโดยนำครูและคณาจารย์มาอบรมเสวนาภาษาอังกฤษ เพราะเล็งเห็นว่าครูเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของผู้เรียน ครูกับการพัฒนาทักษะตนเองด้านภาษา ทั้งด้านการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน ในระดับที่สามารถสื่อสารรวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งไม่เพียงแต่กลุ่มครูผู้สอนภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่รวมถึงการสอนในวิชาอื่นๆที่ควรมีพื้นฐานด้านทักษะภาษาอังกฤษ ซึ่งส่งผลดีต่อการพัฒนาตนเองและมีส่วนช่วยพัฒนาของผู้เรียนด้วย แนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของครูมีดังต่อไปนี้
                หมั่นเข้าหาแหล่งข้อมูลทางวิชาการที่เป็นภาษาอังกฤษ จำเป็นที่ครูทุกคนจะต้องพัฒนาความรู้ความชำนาญในการสอนและงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งที่ครูสามารถทำได้คือ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลองค์ความรู้ที่เป็นภาษาต่างประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเอกสารรวมถึงอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพและนวัตกรรมด้านการศึกษาใหม่ๆสอดแทรกการสอนภาษาอังกฤษในวิชาที่รับผิดชอบ ครูควรนำเอาภาษาอังกฤษไปบูรณาการกับการสอนซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาภาษาอังกฤษ เช่น การสอดแทรกคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นคำเฉพาะ การใช้วลีหรือประโยคภาษาอังกฤษที่ให้ข้อคิดให้เกิดความสนุกสนานและน่าสนใจ การใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างความมั่นใจ ความกล้าและความคุ้นเคยในการใช้ภาษาอังกฤษผ่านการใช้จริงในชีวิตประจำวัน ข้อต่อมาคือ การจัดตารางและวินัยฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นครูควรสร้างวินัยให้แก่ตนเองด้วยการจัดสรรเวลาอย่างเจาะจงในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ต่อมาคือการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง อาจเริ่มจากสิ่งที่ชอบเช่น ดูหนัง ฟังเพลง และจัดอบรมรวมด้วยพัฒนาทักษะ

                ดังนั้น จะเห็นได้ว่าครูมีช่องทางในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้อย่างหลากหลาย แล้วแต่จะเลือกตามความสะดวกและความสมัครใจ อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญในการพัฒนาทักษะคือ การมีวินัยในการฝึกฝน ทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกสนาน ย่อมจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติ มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อบุคคลรอบข้าง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น