เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
วันที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 09.00 – 12.00 น.
Beyond Language Learning
การสอนภาษาอังกฤษมีเข้ามาในประเทศไทยมากกว่า 100 ปี
การสอนภาษาอังกฤษแบบดั้งเดิมจะเน้นทักษะการจำเป็นส่วนใหญ่
ในเรื่องของการสื่อสารก็ยังไม่ได้มีประสิทธิผลมาก
จนในปัจจุบันภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาที่มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตร่วมกันของมนุษย์บนโลกนี้
นั่นคือการสื่อสาร เช่นเดียวกับประเทศไทย ณ ปัจจุบันนี้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษมากกว่าเมื่อก่อน
เนื่องจากกำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่มีความหลากหลายทางด้านภาษา วัฒนธรรม
การใช้ชีวิต การศึกษา การเมืองการเศรษฐกิจที่จะเข้ามาเป็นเอกภาพด้วยกัน
ดังนั้นหากประชากรในประเทศมีทักษะการสื่อสาร การวิเคราะห์ที่ไม่เพียงพอก็จะนำไปสู่การโดนเอารัดเอาเปรียบได้
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วบุคลากรครูจึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆของภาษาอังกฤษได้
ครูจะต้องออกแบบการสอนแบบบูรณาการทักษะ
มีการสอนที่หลากหลายรูปแบบครอบคลุมเนื้อหาและทักษะกระบวนการ หนึ่งในการสอนนั้นคือ
การสอนภาษาตามแนวสื่อสาร (Communicative Language Teaching - CLT)
การใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยในปัจจุบันเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมากหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน
เพราะคนไทยจำนวนมากยังไม่สามารถนำภาษาอังกฤษมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
โดยเฉพาะทักษะการฟังและการพูด ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาวิธีและการเรียนการสอนแบบภาษาอังกฤษที่มุ่งสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
เสริมสร้างความมั่นใจในการเรียน การเรียนภาษาอังกฤษแบบเดิมจะมีมาตรฐานการสอน 5C
คือ Communication, Culture, Connection, Comparative,
Community = Standard Teaching ทางภาษาในการสอนแบบดั้งเดิม
แต่ปัจจุบันการสอนแบบ CTL จะเพิ่มเป็น 7C+การอ่านการเขียน+การคำนวณ = Critical
thinking, Creative, Culture, Network, Communication, Computing, Learning skill โดยการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฏีของ Bloom ในการเรียนภาษาอังกฤษครูผู้สอนจะต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจว่าเรียนภาษาไปเพื่ออะไร
โดยใช้วิธีการนำไปสู่เป้าหมายให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมจริง
เพื่อฝึกทักษะการพูดที่อาจจะพัฒนาขึ้นไม่มากน้อยโดยเน้นผู้เรียน to use
language ให้ได้เห็นถึงวิธีการใช้ภาษาโดยธรรมชาติ
นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นการสอนรายวิชาใด
ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความคิดของตนเอง
เพราะการสื่อสารจะต้องคิดวิเคราะห์จะต้องจำแนกแยกได้ว่าเป็นความคิดเห็นหรือความเป็นจริง
การใช้ Analytical การคิดวิเคราะห์จะนำไปสู่การแก้ปัญหา
โดยการจำแนกหรือจัดกลุ่ม การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ การวิเคราะห์สภาพ ข้อคิด
ความสำคัญ การพยากรณ์ การคาดคะเน การคาดการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เกิดการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ