วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
            โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษา โครงสร้างเป็นที่นำคำศัพท์มาประกอบกันจะเป็นที่เข้าใจของผู้สื่อสาร ถ้าไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้นก็จะล้มเหลวในการสื่อสาร คือฟังหรืออ่านไม่เข้าใจและพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้ ปัญหาที่สำคัญและลึกซึ้งกว่านั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง นักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงแม้จะรู้ศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้ เพราะอาจตีความผิดหรือถ่ายทอดเป็นภาษาเป้าหมายที่ผิดได้


1.              ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ(parts of speech)เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคต้องนำคำมาร้อยเรียงกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์ การคำนึงถึงชนิดของคำเท่านั้นยังไม่พอ ต้องคิดด้วยว่าเวลานำคำไปใช้จริง คำชนิดนั้นเกี่ยวพันกับประเภททางไวยากรณ์
ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category)คือลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่งซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ เช่น บุรุษ (person) พจน์ (number) ลิงค์ (gender) การก (case) กาล(tense) มาลา(mood)วาจก (voice)
1.1       คำนาม เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้แก่ บุรุษ (person) พจน์ (number) การก (case) ความชี้เฉพาะ (definiteness) และการนับได้ (countability)
1.1.1                     บุรุษ (person) คือคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูดหรือถูกพูดด้วยหรือผู้ที่ถูกพูดถึง
1.1.2                     พจน์ (number) บ่งบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งในภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ตัวกำหนด (determiner)ที่ต่างกัน
1.1.3                     การก (case) คำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร เป็นประธาน กรรม สถานที่เป็นต้น

1.1.4                     นามนับได้กับนามนับไม่ได้ กับนามนับได้ คือแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม
1.2               คำกริยา
คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
1.2.1                     กาล (tense) คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากการบ่งชี้กาล
1.2.2                     การณ์ลักษณะ (aspect) หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์
1.2.3                     มาลา (mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์อย่างไร ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการแสดงมาลา
1.2.4                     วาจก (voice) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้ถูกกระทำ แต่ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเอง
1.3               ชนิดของคำประเภทอื่น
ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับกริยา มีความซับซ้อนน้อยกว่าคำนามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่ากับคำนามกับคำกริยา อย่างไรก้อตาม คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เองได้แก่ คำบุพบท (preposition) และคำคุณศัพท์ (adjective)
2.            หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง (construction) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้แปลควรให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษดังนี้
2.1       หน่วยสร้างนามวลี  ตัวกำหนด (determiner) + นาม
นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนด (determiner) อยู่หน้านามเสมอ ถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์ ในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด
2.2       หน่วยสร้างนามวลี  ส่วนขยาย + ส่วนหลัก
ในหน่วยสร้างวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม
2.3        หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)
ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด แต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ
2.4       หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย)
ภาษาไทยได้ชื่อว่าเน้น topic (topic-oriented language) ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นการเน้น subject (subject-oriented language)


2.5       หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction)
หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปลได้แก่ หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า
3.            สรุป
ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว สรุปได้ว่าในการแปลระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษนั้น ลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างกันและแปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษมีดังนี้
3.1       เรื่องชนิดของคำ
3.2       เรื่องประเภททางไวยากรณ์
3.3       เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น