ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง
การประชุมสัมมนานานาชาติ การพาณิชและการศึกษา
ทำให้ภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมายเพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก
การแปลจึงทวีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆ
ผู้ที่ทำการติดต่อนั้น บางคนอาจจะรู้ภาษาอังกฤษไม่ดีพอจึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปล
เพื่อประหยัดเวลาและเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ
การแปลในประเทศไทย
เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสั่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งฝรั่งเศส
จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารการติดต่อการค้าขายกับต่างประเทศ
ทำให้การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญ
การแปลจะช่วยลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน
และสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ ทำให้เกิดสันติภาพโลก
การแปลเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งใช้ในการพัฒนาทั้งทางวรรณคดี วัฒนธรรม
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ
ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศัพท์บางคำหาคำเปรียบในภาษาไทยไม่ได้
การแปลคืออะไร
การถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง
โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น
อีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมอีกด้วย
การแปลเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ในขอบเขตหนึ่งเท่านั้น คือสิ่งที่เป็นความรู้ทางด้านภาษา
แต่ในส่วนที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่จะประดิษฐ์แปลให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นนั้นถือเป็นงานศิลป์
การแปลเป็นกระบวนการที่กระทำต่อภาษา และเป็นทักษะพิเศษเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
ผู้แปลจะต้องถ่ายทอดความคิดจากต้นฉบับออกมาเป็นภาษาที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
คุณสมบัติของผู้แปล
รู้ซึ้งในเรื่องภาษา
มีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดี มีความสามารถในการใช้ภาษา รักการอ่านการค้นคว้า
มีความอดทนพยายามในการที่จะปรับปรุงแก้ไข
ความรับผิดชอบและการรู้จักใช้ความคิดของตนเองในการสร้างงาน
นักแปลที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปลเป็นอย่างดี
การแปลที่ดีจะต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง สวยงาม
จนกระทั่งผู้อ่านไม่รู้สึกว่าตนกำลังอ่านสำนวนแปล
ผู้แปลจะต้องมีศิลปะที่จะซ่อนเร้นร่องรอยของการแปลไว้อย่างมิดชิด
จนกระทั่งผู้อ่านเกิดความประทับใจเช่นเดียวกับการอ่านต้นฉบับ
บทบาทของการแปล
การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสารคือ
ผู้รับสารไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง
ผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ซึ่งในการส่งสารแบบนี้จะต้องประสบกับความแตกต่างในการใช้ภาษา
ลักษณะของงานแปลที่ดี
ควรมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ
ใช้รูปประโยคสั้นๆแสดงความคิดเห็นได้แจ่มแจ้ง
ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสมและรักษาแบบการเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้
และมีการปรับแต่งถ้อยคำสำนวนให้เข้ากับสภาพสังคม
เพื่อให้ผู้อ่านงานแปลเกิดความเข้าใจ
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.
ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ
ไม่ติดสำนวนฝรั่ง
2.
สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้
3.
ใช้การแปลแบบตีความ คือเรียบเรียงและเขียนใหม่
ไม่แปลแบบคำต่อคำ
การให้ความหมายในการแปล
การแปลที่ใช้มีรูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียว
การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆอาจดูจากสิ่งของ รูปภาพ
การกระทำตลอดจนสถานภาพต่างๆ การแปลความหมายจะใช้ปัจจุบันกาล คือ ปัจจุบัน (simple
present)และอนาคต (progressive present)
การแปลกับการตีความจากบริบท
ความใกล้เคียงและความคิดรวบยอดไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน
(paraphasing)แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ
การวิเคราะห์ความหมาย
องค์ประกอบของความหมาย
ประกอบด้วยคำศัพท์
ถือคำที่ตกลงยอมรับกันของผู้ใช้ภาษาซึ่งจะมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมาย
ไวยากรณ์ คือแบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา
เสียงในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย
ความหมายและรูปแบบ
ในแต่ละภาษาความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่นรูปประโยคต่างกันหรือใช้คำต่างกัน
หรือรูปบแบบเดียวอาจมีหลายความหมาย ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
ประเภทของความหมาย
1.
ความหมายอ้างอิงหรือความหมายโดยตรง
คือความหมายเป็นรูปธรรมและนามธรรมหรือเป็นความคิด มโนภาพ หรือเป็นความหมายทั่วๆไป
2.
ความหมายแปล ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน
ผู้ฟัง อาจเป็นทางบวกหรือลบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3.
ความหมายตามบริบท
ภาษาอาจมีความหมายได้หลายความหมาย ต้องพิจารณาจากบริบทสิ่งแวดล้อมของคำนั้น
4.
ความหมายเชิงอุปมา
ความหมายเกิดจากการเปรียบเทียบทั้งเปิดเผยและโดยนัย
การแปลมีความมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความหมายที่แท้จริงของต้นฉบับ
แต่เนื่องจากภาษามีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาษา มีระบบคำศัพท์
มีโครงสร้างทางไวยกรณ์ของตนเอง
ผู้แปลจะต้องพิจารณาภาษาสองภาษาที่มีความแตกต่างกันแล้ว
ยังต้องพิจารณาวัฒนธรรมที่ต่างกันด้วย รวมทั้งความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม
ประเพณีและโลกทัศน์
การเลือกบทแปล
เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการแปล
แนวคิดให้แปลงานเขียนประเภทต่างๆ เช่น ข่าว สารคดี บทความทางวิชาการ
เพื่อให้ได้ความหลากหลายของประเภทงานเขียน
โดยคำนึงถึงการทำให้ตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนเองในการแปล
เรื่องที่จะแปล
มีหลายสาขาทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วรรณกรรม
การแปลหนังสือวิชาการสาขาต่างๆจะเป็นการกำจัดอุปสรรคความรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ
ผู้แปลจะต้องฝึกฝนภาษาอังกฤษให้ดี การเลือกหนังสือที่จะแปล คือ
เป็นเรื่องที่เลือกเฟ้น เรียบเรียงให้ถูกต้องทันกับสากล
ใช้ภาษาที่แปลได้อย่างถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น